กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 15 เชียงราย
นายอภิวัฒน์ เลาหวัฒน์
ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย

ข้อมูลทั่วไปของศูนย์ฯ

ข้อมูลทั่วไปของศูนย์ฯ

 
 
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551  เห็นชอบการปรับปรุงการบริหารจัดการจังหวัดของกระทรวงมหาดไทยเป็น 18 กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตจากเดิม 12 เขต เป็น 18 เขต ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย รับผิดชอบพื้นที่จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน ที่ตั้งศูนย์ ฯ เขต ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 455 หมู่ 2 ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เนื้อที่ 64 ไร่ 
..........................................


วิสัยทัศน์
(ตามแผนยุทธศาสตร์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2560-2564)
“เป็นหน่วยงานหลักสนับสนุนจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตรับผิดชอบ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และทันเหตุการณ์”
 
ภารกิจ

ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต ๑๕ เชียงราย ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการป้องกัน บรรเทา ฟื้นฟูสาธารณภัย และอุบัติภัยต่างๆ อย่างเป็นระบบมีความรวดเร็ว  ทั่วถึง และเป็นธรรม โดยมีภารกิจหลักในการจัดวางระบบป้องกันแจ้งเตือนด้านสาธารณภัย และเตรียมความพร้อมในทุกพื้นที่ รวมทั้งเป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการและดำเนินการบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์  เครื่องมือ  ยานพาหนะ  และเครื่องจักรกลที่จำเป็นในการป้องกันบรรเทา ระงับ และช่วยเหลือฟื้นฟูประชาชน และสภาพพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด

อำนาจหน้าที่

1.  อำนวยการปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยและพื้นที่เกิดภัยขนาดใหญ่
2.  สนับสนุนและปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ฟื้นฟูสภาพพื้นที่
3.  ให้ความรู้ คำแนะนำ ตลอดจนติดตามและประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง
4.  สนับสนุนและจัดให้มีการฝึกอบรมซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5.  บริหารจัดการกิจการอาสาสมัครเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
6.  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ฝ่ายบริหารทั่วไป  มีอำนาจหน้าที่
1. ปฏิบัติงานบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี งานการเจ้าหน้าที่ งานอาคารสถานที่ ยานพาหนะ พัสดุครุภัณฑ์ งานเรื่องราวร้องทุกข์ งานรัฐพิธี ราชพิธีของหน่วยงาน ตลอดจนการบริหารงบกลางและเงินทดรองราชการในความรับผิดชอบของศูนย์
2. อำนวยการควบคุม กำกับ สนับสนุน และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภารกิจด้านการสาธารณภัย
3. กลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานและใบสำคัญให้เป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
4. สนับสนุนและประสานความช่วยเหลือตลอดจนปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
  
ส่วนยุทธศาสตร์และการจัดการ มีอำนาจหน้าที่

1. การประสานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ นำนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับประเทศ กระทรวง กรมแปลงไปสู่การปฏิบัติในระดับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต
2. ให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตามประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในพื้นที่รับผิดชอบ
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ประชาชน ตลอดจนองค์กรเอกชนในการสร้างเครือข่ายเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4. พัฒนา จัดทำระบบและใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล เครือข่าย สมาชิก อปพร. และฐานข้อมูลพื้นฐานด้านสาธาณณภัยที่มีการเชื่อมโยงจากจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ
5. งานพัฒนาระบบราชการ และจัดทำแผนงานงบประมาณทั้งในระดับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
6. บริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน
7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 
  
ส่วนป้องกันและปฏิบัติการ  มีอำนาจหน้าที่
1. ศึกษา วิเคราะห์ สำรวจและจัดทำฐานข้อมูลสภาพภูมิประเทศ สิ่งก่อสร้างที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดสาธารณภัย
2. ดำเนินการและประสานงานด้านวิศวกรรมในการป้องกันสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ ตลอดจนวิเคราะห์ความเหมาะสมด้านวิศวกรรมและประเมินราคาโครงการ
3. ควบคุม กำกับ ติดตาม เร่งรัดการปฏิบัติการ ป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟูด้านสาธารณภัยให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย และมาตรฐานที่กำหนด
4. ดำเนินการฟื้นฟูบูรณะสภาพพื้นที่ที่ประสบภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและดำเนินการแก้ไขให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว
5. ดำเนินการเฝ้าระวัง รับแจ้งเหตุ รายงานและติดตามสถานการณ์สาธารณภัยตลอด 24 ชั่วโมง
6. ประเมินและรายงานระดับความรุนแรงขั้นต้นของสาธารณภัย เพื่อประโยชน์ในการอำนวยการ สั่งการ กู้ภัย และเร่งระดมทรัพยากรสนับสนุน
7. ประสานการปฏิบัติการร่วมกับอาสาสมัครองค์กรประชาชนในการดำเนินการด้านสาธารณภัย
8. สนับสนุนและให้คำปรึกษาแนะนำการบริหารจัดการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจสาธารณภัยในระดับจังหวัด
9. บริหารจัดการให้ความช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และฟื้นฟูผู้ประสบภัยและสภาพพื้นที่ในสภาวะฉุกเฉิน และติดตามประเมินผลการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
10. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
ส่วนสนับสนุนทรัพยากรกู้ภัย  มีอำนาจหน้าที่
1. ดำเนินการบริหารวางแผน ควบคุม กำกับ ติดตามและรายงานการใช้ การบำรุงรักษา การจัดหาทดแทนเครื่องจักรกล เพื่อใช้ในกิจการด้านสาธารณภัย
2. ดำเนินการซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องจักรกลให้มีสภาพดีอยู่เสมอ
3. ดำเนินการซ่อมและบำรุงรักษา ระบบไฟฟ้า อาคาร และระบบสื่อสาร
4. ให้การสนับสนุนวิชาการด้านเครื่องจักรกลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. วางระบบและรวบรวมข้อมูลแหล่งทรัพยากรสนับสนุน การจัดการกู้ภัยในภารกิจงานด้านสาธารณภัย
6. ประสานงานในการจัดหา จัดสรร และ สนับสนุนทรัพยากร เพื่อการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย
7. สนับสนุนและให้คำปรึกษาแนะนำการบริหารจัดการศูนย์รับบริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย
8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
ส่วนฝึกอบรม  มีอำนาจหน้าที่
1. จัดทำแผนปฏิบัติการ การฝึกอบรม ฝึกซ้อม ฝึกปฏิบัติของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
2. อำนวยการและปฏิบัติ การฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ ฝึกซ้อมด้านการป้องกัน บรรเทาและฟืนฟูให้กับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต อาสาสมัคร ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรเอกชน
3. จัดทำแผนปฏิบัติการ การฝึกอบรม ฝึกซ้อม ฝึกปฏิบัติของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้สอดคล้งกับแผนแม่บทการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4. ติดตามและประเมินผลการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ ฝึกซ้อมด้านการป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟูในทุกระดับ
5. รายงานผลการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ ฝึกซ้อมด้านการป้องกัน บรรเทาและฟื้นฟูให้กับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต อาสาสมัคร ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรเอกชน
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


ส่วน/่ฝ่าย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ รวม
ผู้บริหาร 1     1
ฝ่ายบริหารทั่วไป 5 0 4 9
ส่วนยุทธศาสตร์และการจัดการ 2 1 0 3
ส่วนสนับสนุนทรัพยากรกู้ภัย 7 4 5 16
ส่วนป้องกันและปฏิบัติการ 7 1 9 17
ส่วนฝึกอบรม 3 0 1 4
4 ส่วน 1 ฝ่าย 25 6 19 50

จำนวนผู้เข้าชมในหน้านี้ 346 ครั้ง